น้ำปลาร้าแม่ตุม

ประวัติความเป็นมาของน้ำปลาร้าอร่อยในไทย

            เรามาทำความรู้จักประวัติความเป็นมาของน้ำปลาร้าแบบคราวๆกันก่อนที่จะพาไปชมเมนูสุดอร่อยที่ทำจากน้ำปลาร้านั้นเอง น้ำปลาร้าที่เรารู้จักนั้นถือว่าเป็นเครื่องปรุงรสที่อยู่คู่คนไทยในภาคอีสานมาเป็นเวลาอย่างยาวนานแล้ว ปลาร้า หรือ ปลาแดก โดยแต่ละท้องถิ่นจะมีการทำปลาร้าเป็นเอกลักษณ์ของตน ปลาร้าเป็นอาหารที่แพร่หลายอย่างมากในเอเชียอาคเนย์มีกินกันทุกแห่งในดินแดนที่วัฒนธรรมมอญ-เขมร ได้เคยผ่านเข้าไป เมื่อ 2,000 ปี หรือ 3,000 ปีมาแล้วจากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า ปลาร้า เป็นอาหารของวัฒนธรรมอีสานมานานกว่า 6,000 ปีแล้วหรือมากกว่านี้

โดยพบวัสดุที่คล้ายกับไหหมักปลาร้าที่พันเชือกเอาไว้เหมือนการหมักในปัจจุบันตามบ้านต่างๆถือว่ามีอายุมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันปลาร้าได้พัฒนาขึ้นไปสู่ระดับสากลมากขึ้นทำให้ต่างชาติรู้จักมากขึ้น มีปลาร้าพาสเจอร์ไรซ์เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนด้วย หรือปลาร้าอนามัย แต่ส่วนใหญ่ ปลาร้าก็ยังนิยมทำแบบเดิม โดยแบบตักขายตามตามตลาดสดต่างๆ เป็นเครื่องปรุงรสที่ทำให้อาหารมีความกลมกล่อม แซ่บนัว มากยิ่งขึ้นไปอีก

ประวัติความเป็นมาน้ำปลาร้า

ปลาร้าถือว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในอาหารอีสานและในปัจจุบันนั้นปลาร้านั้นคนต่างชาตินั้นรู้จักกันมากยิ่งขึ้นแต่กว่าจะมาเป็นน้ำปลาร้านั้นจะต้องทำการหมักปลาร้านั้นใช้เวลามากกว่าจะได้นำมาปรุงอาหารได้แต่ในยุคปัจจุบันมีการเข้าถึงที่ง่ายมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะบรรจุเป็นผงหรือเป็นขวดน้ำปลาร้าเลยทำให้การกินนั้นง่ายมากยิ่งขึ้นไปอีก

ถ้าพูดมาถึงขนาดนี้ต้องพาไปดูวิธีการทำคร่าวๆของปลาร้ากันดีกว่า โดยปลาร้าส่วนประกอบหลักๆคือ ปลานั้นเองส่วนมากแล้วจะนำปลานำจืดมาทำเป็นส่วนมาก เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาดุก ปลานิล ปลากระดี่และปลาสร้อยมาหมักกับเกลือ ข้าวคั่วและรำข้าว ลาวเรียกว่า ปลาแดก นั้นเอง เวลาในการหมักนั้นส่วนมากแล้วจะอยู่ที่ 7-8 เดือน แล้วนำมารับประทานได้ ในบางที่บอกไว้ว่าการหมักให้มีหนอนจะยิ่งเพิ่มรสชาติยิ่งขึ้น ปลาร้านั้นเป็นการถนอมปลาโดยการหมักไว้กินนอกฤดูกาล

ประวัติความเป็นมา

เมนูยอดฮิตที่ทำมาจากน้ำปลาร้า

ถ้าพูดถึงปลาร้าทุกคนก็คงต้องนึกถึงส้มตำนั้นเองถือว่าเป้นที่รู้จักโดยทั่วไป โดยส้มตำที่ใส่น้ำปลาร้านั้นจะเรียกว่า

  • ส้มตำลาวหรือตำปลาร้า
  • ส้มตำใส่กุ้งแห้งที่คนไทย
  • แกงหน่อไม้
  • ยำปลาร้า
  • ขนมจีนน้ำยาป่า
  • ปลาร้าบอง
  • ยำขนมจีน
  • และอื่นๆอีกมากมาย

บอกเลยว่าแต่ละเมนูนั้นมีแต่ แซ่บๆทั้งนั้นหาลองมากินกันได้หรือจะลองทำกินกันก็ไม่ยาก ทุกคนจะได้ไม่พลาดความแซ่บของปลาร้าแบบนี้

คุณภาพและรสชาติของน้ำปลาร้า

สิ่งที่จะบอกได้ว่าปลาร้านั้นมีคุณภาพแค่ไหนคือ กลิ่น รสชาติ สี และคุณค่าทางโภชนาการ น้ำปลาร้านั้นถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าอาหารหมักดองหลายชนิด เช่น ปลาส้มฟัก กะปิ ปลาร้านั้นมีคุณค่าทางสารอาหารสูง คือ โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ สารอาหารนี้จะสูงขึ้นหากใช้ปลาช่อนในการหมักทำปลาร้า

ส่วนรสชาติ กลิ่น สีของปลาร้านั้นขึ้นอยู่กับปลาร้าที่ได้สัดส่วนระหว่างปลา เกลือและอุณหภูมิ หากปลาร้าไม่เน่า เพราะเกลือได้สัดส่วน และเป็นเกลือสินเธาว์ตัวปลาจะแข็ง มีสีแดง ส่วนกลิ่นที่หอมและรสที่ไม่เค็มเกินไปขึ้นอยู่กับการใช้ข้าวคั่วและรำใหม่ ที่มีคุณภาพดี ชาวอีสานจะเรียกปลาร้าตามคุณภาพของรสและกลิ่น เช่น ปลาแดกหอม ปลาแดกนัวหรือปลาแดกต่วง และปลาแดกโหน่ง

ปลาแดกหอม เป็นปลาร้าที่มีกลิ่นหอมสีแดงน่ารับประทาน ทำจากปลาตัวโตเช่น ปลาช่อนและปลาดุก ส่วนประกอบในการหมักใช้เกลือมากกว่าสูตรทั่วไป คือ ปลาสี่ส่วน เกลือสองส่วนและข้าวคั่วหรือรำหนึ่งส่วน

ปลาแดกต่วง เป็นปลาร้าที่หมักให้มีกลิ่นนุ่มนวล ปลาที่ใช้ทำจะเลือกปลาขนาดกลางและขนาดเล็ก ส่วนผสมประกอบด้วย ปลาสี่ส่วน เกลือหนึ่งส่วนครึ่ง และรำหนึ่งส่วน

ปลาแดกโหน่ง เป็นปลาร้าที่มีกลิ่นแรงสุด ส่งกลิ่นฟุ้งได้ไกล รสชาติแปลกประหลาด สีออกดำคล้ำ นิยมใช้ปรุงส้มตำ ปลาร้าชนิดนี้จะทำมาจากปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาขาวนา ส่วนผสมที่ใช้ ปลาสี่ส่วน เกลือหนึ่งส่วน รำหนึ่งส่วน

ถ้าปลาร้าที่หมักนานกว่า 3 เดือนขึ้นไปจะให้รสชาติที่ดี ถ้าปลาช่อนตัวใหญ่อาจต้องใช้เวลาถึงหนึ่งปี ไม่ต้องกลัวเชื้อโรคในปลาร้า เพราะนักโภชนาการเชื่อว่า เกลือในปริมาณที่พอเหมาะมากพอจะทำให้ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ ทำให้อาหารบูดเน่าได้ ดังนั้นถ้าปลาร้าที่ทำจากปลาที่ล้างสะอาด สด ใช้เกลือสินเธาว์และภาชนะบรรจุที่เหมาะสมจะทำให้ได้ปลาร้าที่มีคุณภาพดี จากการศึกษาวิจัยยังพบอีกว่า ปลาร้าที่หมักนานกว่าสามเดือนขึ้นไป พยาธิใบไม้ตับ จะตายหมดไม่ว่าจะรับประทานปลาร้าดิบหรือปลาร้าต้มสุกก็ตาม